นักธรณีวิทยา ในตอน Earth Science
ทัศนศึกษาแหล่งหินประวัติศาสตร์ในกาญจนบุรี เรียนรู้ผ่านอุทยานหิน
และพิพิธภัณฑ์หิน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
ธรณีวิทยา เป็นเรื่องของการศึกษาองค์ประกอบ โครงสร้าง เเละกระบวนการตามธรรมชาติ
ของโลกที่เกิดขึ้น ในแต่ละช่วงเวลาทางธรณีกาล โดยศึกษาจากหลักฐานที่ ค้นพบในชั้นหิน
และซากดึกดำบรรพ์ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์
สัมผัสและเรียนรู้ผ่านประสบการณ์โดยตรงจากผู้สอนนักธรณีวิทยา ในภาคสนามจริง
อาทิเช่น ชั้นดิน แหล่งแร่ ประเภทชนิดของหินของประเทศไทย
" Geology มาจากภาษากรีกว่า Geos ซึ่งแปลว่าโลก และ Logi หรือ Logus ซึ่งหมายถึงวิทยาศาสตร์
ดังนั้น ธรณีวิทยา จึงหมายถึง วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับโลกพิภพ หรือโลกมนุษย์ ซึ่งครอบคลุมถึงกำเนิดของ โลกมนุษย์ที่รวมถึงดวงดาวต่างๆ และระบบสุริยจักรวาล วัสดุ และรูปร่างลักษณะของโลก ประวัติความเป็นมา และกระบวนการที่กระทำต่อโลกทั้งในอดีต และปัจจุบัน"
ทำไมต้องศึกษาธรณีวิทยา?
กระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบนโลกส่งผลกระทบต่อเราทุกคน ที่อาศัยอยู่บนโลก โดยเฉพาะภัยธรรมชาติ ซึ่งสามารถคร่าชีวิตคน จำนวนมาก และสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาลได้ ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ทางธรรมชาติเท่านั้น กิจกรรมของเราแต่ละคนใน แต่ละสังคมก็ส่งผลต่อโลกเช่นกัน การเพิ่มจำนวนของประชากรโลก และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ก่อให้เกิดความต้องการในการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น หากเรานำทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้โดย ไม่เข้าใจถึงกระบวนการทาง ธรรมชาติของโลกแล้ว ก็จะเกิดปัญหาตามมาในหลายๆ ด้าน และอาจส่งผลกระทบต่อคนรุ่นหลังได้
แล้วน้องๆจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง ?
สำหรับนักธรณีวิทยา ในตอน Earth Science
เสริมประสบการณ์ในเรื่องของ หลักการแบ่งโครงสร้างโลก กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางธรณีภาคของโลก กระบวนการเกิดภูเขา รอยเลื่อน รอยคดโค้ง แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยาซึ่งส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม การลำดับชั้นหิน ซากดึกดำบรรพ์และโครงสร้างทางธรณีวิทยาเพื่ออธิบายประวัติความเป็นมาของพื้นที่ ประโยชน์ของข้อมูลทางธรณี รวมถึงวัฏจักร ของหิน แร่ ซากดึกดำบรรพ์ รวมทั้งไดโนเสาร์ และทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติของประเทศ การแสดงกลุ่มหินชุดต่าง ๆ ของประเทศตามตารางธรณี ผ่านประสบการณ์ของนักธรณีวิทยา และภาคปฎิบัติที่น้องๆจะได้สัมผัสโดยตรง